ประกอบด้วย 5 แขนงวิชา รับนักเรียนจากทุกสายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับการเมืองและการปกครองของประเทศต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแยกออกเป็นวิชาย่อยที่ให้ภาพหรือมิติต่างๆ ของการเมือง เช่น ทฤษฎีการเมือง การเมืองเปรียบเทียบ ระบบเอกรัฐและสหพันธรัฐ เป็นต้น สำหรับลักษณะการปกครองของประเทศต่างๆ แขนงวิชาการปกครองเปิดสอนวิชาที่เกี่ยวกับการปกครองของประเทศต่างๆ ที่สำคัญ คือ ไทย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย ยุโรป จีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น อนึ่งในการกล่าวถึงการเมืองการปกครองของประเทศหรือกลุ่มประเทศใดๆ นั้น นอกจากจะเน้นที่สถาบันและกระบวนการทางการเมืองระดับชาติแล้ว ยังพยายามเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองท้องถิ่น และการเมืองระหว่างประเทศของประเทศนั้นๆ ด้วย
การประกอบอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาการปกครองสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทำงานราชการในตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนดว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์ หรือทำงานในหน่วยงานเอกชนที่ต้องการบุคลากรที่มีคุณวุฒิตามสาขารัฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์
การศึกษาต่อ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาการปกครองสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโททางด้านรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น
ศึกษาเกี่ยวกับด้านการเมืองระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศต่างๆ องค์การระหว่างประเทศและประวัติศาสตร์การทูต เป็นต้น แขนงวิชานี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ปฏิสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะช่วยให้ผู้ศึกษามีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไป และการเปลี่ยนแปลงโลกที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทำให้เป็นผู้ทันสมัยและมีวิสัยทัศน์
การประกอบอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะประกอบอาชีพได้หลากหลายตามความถนัดทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับผู้ที่สนใจอยากเป็นนักการทูตก็สามารถเลือกสอบเข้ากระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ใฝ่ฝันของคนทั่วไป หรือทำงานด้านวิเทศสัมพันธ์ หรือกิจการต่างประเทศในหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนมีโอกาสทำงานในองค์การระหว่างประเทศโดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ที่มีทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศก็จะได้เปรียบ
การศึกษาต่อ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสามารถศึกษาต่อในระดับสูงทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมีหลายสถาบันที่เปิดสอนสาขาวิชานี้ เพราะแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นแขนงวิชาที่มีผู้สนใจมาก
ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานในระบบงานยุติธรรม ได้แก่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และคุมประพฤติ วิชาที่เรียนเน้นหนักไปในเรื่องหลักและทฤษฎีการบริหาร กระบวนการและการบริหารคดี หลักการสืบสวนสอบสวน ทฤษฎีทางอาญาวิทยา การบังคับใช้กฎหมาย การป้องกันอาชญากรรมและปัญหาสังคม หลักยุติธรรมชุมชน และการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดในสังคม ตลอดทั้งการบริหารจัดการเพื่อความปลอดภัยในองค์การ
การประกอบอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาการบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย สามารถทำงานได้ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจและธนาคาร
การศึกษาต่อ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัยสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท ทั้งในและต่างประเทศ สถาบันในประเทศ ได้แก่ สาขาบริหารงานยุติธรรม คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สาขาบริหารงานตำรวจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการปกครองท้องถิ่น นโยบายสาธารณะของท้องถิ่น การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในท้องถิ่น การจัดสรรทรัพยากรของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้คนในชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและมั่นคง
การประกอบอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่นสามารถเข้าทำงานได้ทั้งภาครัฐ และเอกชน กล่าวคือ
การศึกษาต่อ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่นสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท ทั้งในและต่างประเทศ สถาบันในประเทศ ได้แก่ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะอื่นที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาเนื้อหาเน้นเกี่ยวกับการบริหารในภาครัฐทั้งหมด กล่าวคือ ทั้งระบบราชการและรัฐวิสาหกิจ แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีหลายวิชา เช่น การบริหารงานบุคคล การบริหารองค์การ การบริหารงานคลังและงบประมาณ การวางแผนและบริหารโครงการ การวางแผนกำลังคน พฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ เทคโนโลยีทางการบริหาร นโยบายสาธารณะ และการบริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
การประกอบอาชีพ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สามารถเข้าทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน กล่าวคือ
การศึกษาต่อ
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกได้สองลักษณะ คือ
รหัสกลุ่มสาระและชื่อรายวิชาที่ใช้สมัคร
โปรดสืบค้นข้อมูลผ่าน webpage ของ สอท.
หรือดูรายละเอียดที่ webpage ของสาขาวิชา