แนะแนวการศึกษา

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา โดยรวมอยู่ในวิชาต่างๆ ของคณะเกษตรและคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ขึ้น โดยมีภาควิชาสังคมศาสตร์และมนษุยศาสตร์เป็นภาควิชาในคณะนั้น เพื่อทำการสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์ให้แก่นิสิตคณะต่างๆและในปี พ.ศ. 2510 ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยศาสตร์ เริ่มรับนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าศึกษาในสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต่อมาภาควิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้รับการยกสถานะเป็น คณะสังคมศาสตร์ ในปี พ.ศ.2517


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดตั้งคณะสังคมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้การศึกษาด้านต่างๆในสายสังคมศาสตร์แก่นิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. เพื่อผลิตนักวิชาการและนักวิจัยทางสังคมศาสตร์
3. เพื่อทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ โดยเน้นการพัฒนาชนบทและการเกษตร
4. เพื่อให้บริการด้านการศึกษา และการวิจัยทางสังคมศาสตร์แก่ชุมชน


หลักสูตรที่เปิดสอน

คณะสังคมศาสตร์เปิดสอนทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (นอกเวลาราชการ) ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 7 หลักสูตร รวม 14 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) หลักสูตร 2 ปี 7 หลักสูตร รวม 10 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก (ดุษฎีบัณฑิต) หลักสูตร 3 ปี 1 หลักสูตร


การจัดการเรียนการสอนภาคปกติ

ระดับปริญญาตรี 7 หลักสูตร 14 สาขาวิชา

หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 หลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มี 4 สาขาวิชา
    • สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
    • สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
    • สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ
    • สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มี 3 หลักสูตร

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี 5 แขนงวิชา
    • แขนงวิชาการปกครอง
    • แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย
    • แขนงวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น
    • แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มี 1 หลักสูตร

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์

ระดับปริญญาโท 7 หลักสูตร 10 สาขาวิชา

หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มี 2 หลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี 6 หลักสูตร

  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี 5 แขนงวิชา
    • แขนงวิชาการปกครอง
    • แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย
    • แขนงวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น
    • แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาประยุกต์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนสังคมศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้ง
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาสังคม

ระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มี 1 หลักสูตร

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนภาคพิเศษ

การจัดการเรียนการสอนภาคพิเศษ เปิดสอนนอกเวลาราชการ เพื่อเปิดโอกาสการศึกษาหาความรู้ มีทั้งระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท

ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 หลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มี 4 สาขาวิชา
    • สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
    • สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
    • สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ
    • สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต มี 2 หลักสูตร

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี 5 แขนงวิชา
    • แขนงวิชาการปกครอง
    • แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย
    • แขนงวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น
    • แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มี 1 หลักสูตร

  • หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์

ระดับปริญญาโท

หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มี 2 หลักสูตร

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม และองค์การ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี 4 หลักสูตร

  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มี 5 แขนงวิชา
    • แขนงวิชาการปกครอง
    • แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    • แขนงวิชาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย
    • แขนงวิชาการบริหารจัดการท้องถิ่น
    • แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนสังคมศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความขัดแย้ง
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาสังคม

การรับเข้าศึกษา

การรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มี 4 รูปแบบ คือ

  1. สอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระบบ Admissions
  2. รับนิสิตโครงการโควตาพิเศษ โดยรับนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในท้องถิ่น ภาคกลาง และภาคตะวันออก ผู้สมัครจะต้องสอบวัดความรู้วิชาหลัก/วิชาเฉพาะของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ดำเนินการโดย สำนักทะเบียนและประมวลผล
  3. รับนิสิตผู้มีความสามารถทางกีฬาดีเด่น ดำเนินการโดย สำนักทะเบียนและประมวลผล
  4. รับนิสิตผู้มีความสามารถทางการศึกษา (นักเรียนเรียนดี) โครงการรับตรง ดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ มี 2 รูปแบบ คือ

  1. รับเข้าศึกษาผ่านระบบ Admissions ดูรายละเอียดในระเบียบการคัดเลือกบุคลากรเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  2. รับเข้าศึกษาโครงการรับตรง พิจารณาจากคะแนนสอบวัดความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ผลคะแนนสอบ O-NET GATและ PAT) ผลคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) และการสอบสัมภาษณ์ ดำเนินการโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำหน่ายใบสมัครและรับสมัครระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคพิเศษ(อาจมีการเปลี่ยนแปลงโปรดดูรายละเอียดที่ website ของแต่ละสาขา)

เป็นผู้สมัครสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาที่มีคะแนนสอบวัดความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ผลคะแนนสอบ O-NET GAT และ PAT) และมีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ดังนี้

  1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา รับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ ที่มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.25
  2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์ รับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ ที่มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.25
  3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ที่มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.25
  4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ที่มีผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.50
  5. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ไม่กำหนดผลการเรียนคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA)

การรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาโท มี 2 รูปแบบ คือ

  1. ปริญญาโท ภาคปกติ บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการรับสมัคร และสอบคัดเลือกโดยคณะสังคมศาสตร์ รับสมัครในระหว่างเดือนตุลาคม(โปรดดูรายละเอียดที่ website ของบััณฑิตวิทยาลัย)
  2. ปริญญาโท ภาคพิเศษ คณะสังคมศาสตร์ดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือก โดยรับสมัครประมาณเดือนกุมภาพันธ์

การรับสมัครเข้าศึกษาระดับปริญญาเอก

  1. ปริญญาเอกภาคปกติ บัณฑิตวิทยาลัยดำเนินการรับสมัคร และสอบคัดเลือกโดยคณะสังคมศาสตร์ รับสมัครในระหว่างเดือนตุลาคม (โปรดดูรายละเอียดที่ website ของบััณฑิตวิทยาลัย)

ในแต่ละปีการศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ รับนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคปกติและภาคพิเศษ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,050 คน


กำหนการเปิดสอน

ภาคต้น มิถุนายน - ตุลาคม
ภาคปลาย พฤศจิกายน - มีนาคม
ภาคฤดูร้อน เมษายน - พฤษภาคม

ทุนการศึกษาและหอพัก

คณะสังคมศาสตร์ ได้จัดสรรทุนการศึกษาให้นิสิตของคณะที่มีปัญหาด้านทุนทรัพย์ ปีละประมาณ 100 ทุน ทุนละ 5,000 - 10,000 บาท นอกจากนี้นิสิตยังสามารถสมัครขอทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยและกองทุนให้กู้ยืมทางการศึกษา โดยติดต่อที่กองกิจการนิสิต

ในด้านของหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยจะจัดสรรห้องพักให้แก่นิสิตของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะนิสิตที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด อย่างไรก็ตามเนื่องจากในแต่ละปีการ ศึึกษามีนิสิตสมัครเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมากทางมหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดเกณฑ์ ในการเข้าพักในหอพักของมหาวิทยาลัย นิสิตจะสมัครเข้าพัก ในหอพักของมหาวิทยาลัย ได้โดยจะต้องติดต่อที่ กองกิจการนิสิต ในวันสอบสัมภาษณ์ หรือ วันมอบตัว ซึ่งมหาวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบต่อไป นักเรียนสามารถเข้า ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับผลประโยชน์ของท่านเองเมื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ที่
โฮมเพจของกองกิจการนิสิต

นักเรียนหรือหน่วยแนะแนวการศึกษาของโรงเรียน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลการเรียนการสอนของคณะสังคมศาสตร์ได้ที่
งานบริการการศึกษา คณะสังคมศาสตร์
โทรศัพท์ 02- 561-3480, 02-561-3484 ต่อ 502-503, ภาคพิเศษ ต่อ 901-902
Email : fsocpwm@ku.ac.th