แนะแนวการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา

รับนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา


สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในชุมชน กลวิธีต่างๆ ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต ปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

การประกอบอาชีพ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาชุมชนสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยา อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการและฝึกอบรม หรือตำแหน่งงานด้านมวลชนสัมพันธ์ ในหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน

การศึกษาต่อ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิขาจิตวิทยาชุมชนสามารถศึกษาต่อโดยตรงในสายจิตวิทยาชุมชนและในสายอื่นที่เกี่ยวข้อง


สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก

ศึกษาเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิต ให้สามารถปรับความคิด พฤติกรรม และปรับตัวเข้า กับสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเนื้อหาของการศึกษาจะประกอบไปด้วย การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา การบำบัดทางจิตวิทยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิต เป็นต้น

การประกอบอาชีพ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาคลินิกให้บริการด้านจิตเวชและสุขภาพจิต ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

การศึกษาต่อ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาคลินิกสามารถศึกษาต่อโดยตรงในสายจิตวิทยาคลินิก และสายอื่นที่เกี่ยวข้อง


สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ

ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จนถึงวัยชรา รวมทั้งการเตรียมตัวตาย และเสริมสร้างพัฒนาการของบุคคลทุกช่วงวัย

การประกอบอาชีพ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาของศูนย์พัฒนาเด็กและเยาวชน โรงเรียน หรือเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคคลทุกช่วงวัย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

การศึกษาต่อ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการสามารถศึกษาต่อโดยตรงในสาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ และในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง


สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ในการทำงานในองค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การสรรหา การคัดเลือก การพัฒนาและบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

การประกอบอาชีพ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สามารถประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ นักจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ นักวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ หรือประกอบอาชีพด้านบริหารและ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

การศึกษาต่อ

ผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สามารถศึกษาต่อโดยตรงในสาขาวิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรมและองค์การ และในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง


รหัสกลุ่มสาระและชื่อรายวิชาที่ใช้สมัคร

โปรดสืบค้นข้อมูลผ่าน webpage ของ สอท.
หรือดูรายละเอียดที่ webpage ของสาขาวิชา